วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หมีแพนด้าัยักษ์

หมีแพนด้า (Giant Panda)
ชื่ออังกฤษ : Giant Panda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ailuropoda melanoleuca
วงศ์ : Ursidae

ถิ่นกำเนิด : ป่าสนและป่าไม้ใบกว้าง (broadleaf)
ที่มีต้นไผ่อยู่หนาแน่น ที่ระดับความสูง 5,000-10,000 ฟุต
บริเวณนี้มีฝนตกหนัก และหมอกหนาปกคลุมตลอดปี
ภาคตะวัน
ออกของประเทศจีน


ลักษณะทั่วไป
แพนด้ายักษ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความน่ารักมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก คนส่วนใหญ่คิดว่าแพนด้ายักษ์เป็นสัตว์อ้วนเตี้ยอุ้ยอ้ายแสนน่ารัก แต่ที่จริงแล้วแพนด้ายักษ์ก็เป็นอันตรายเช่นเดียวกับหมีชนิดอื่น ๆ มีรูปร่างคล้ายหมี มีขนสีดำที่บริเวณหู, รอบดวงตา, รอบปากและจมูก, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายปกคลุมด้วยขนสีขาว นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบเหตุผลที่แน่นอนว่าทำไมแพนด้ายักษ์จึงมีขนสีขาวดำแปลกประหลาดเช่นนี้ บางคนคิดว่าลักษณะเช่นนี้เป็นประโยชน์ในการพรางตัวบริเวณร่มเงาในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหิมะและภูเขา ขนหนาและปุกปุยของมันช่วยเก็บรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ดีแม้อากาศจะหนาว จัด แพนด้ายักษ์มีฟันกรามขนาดใหญ่และกระดูกขากรรไกรแข็งแรงที่สามารถบดลำไม้ไผ่ ให้แตกได้ แพนด้ายักษ์มีขนาดใกล้เคียงกับหมีดำของอเมริกา เมื่อมันยืนสี่ขาจะมีความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ประมาณ 2-3 ฟุต มีความยาวประมาณ 4-6 ฟุต ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และอาจมีน้ำหนักมากกว่า 115 กก.สำหรับแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่า ส่วนตัวเมียส่วนมากจะมี
น้ำหนักไม่ถึง 100 กก.

ถิ่นอาศัย อาหาร
แพนด้ายักษ์กระจายพันธุ์ในแนวเทือกเขา ทางตอนกลางของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในมณฑลเสฉวน, ชานซี และกานสู ในอดีตแพนด้ายักษ์เคยกระจายพันธุ์ลงมาถึงบริเวณที่ราบต่ำ แต่เพราะการตัดไม้ทำลายป่า, การขยายพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ปัจจุบันแพนด้ายักษ์ถูกจำกัดการกระจายพันธุ์ให้เหลือเฉพาะในเทือกเขา เท่านั้น แพนด้ายักษ์อาศัยอยู่ในป่าสนและป่าไม้ใบกว้าง (broadleaf) ที่มีต้นไผ่อยู่หนาแน่นที่ระดับความสูง 5,000-10,000 ฟุต บริเวณนี้มีฝนตกหนัก และหมอกหนาปกคลุมตลอดปี สำหรับประเทศไทยได้มีการค้นพบฟอสซิลของแพนด้าที่จังหวัดลำปาง
อาหารส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) ของแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่าธรรมชาติคือไผ่ นอกนั้นก็จะเป็นหญ้าชนิดอื่นๆ อาจพบว่ามันกินสัตว์เล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กหรือลูกของกวางมัสก์ (Musk Deer) บ้างเป็นครั้งคราว ส่วนอาหารของแพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์ได้แก่ ไผ่, อ้อย, ธัญพืช, บิสกิตชนิดพิเศษที่มีเส้นใยสูง, ผลไม้และผัก เช่น แครอท, แอปเปิ้ล และมะเขือเทศ

พฤติกรรม การสืบพันธุ์
โดยปกติแพนด้ายักษ์ที่โตเต็มวัยแล้วจะอยู่เพียงลำพัง แต่ก็มีการติดต่อสื่อสารกับแพนด้ายักษ์ตัวอื่นบ้างเป็นช่วงๆ โดยใช้การสื่อสารด้วยสารเคมีจากต่อมกลิ่น,เสียงร้อง และการพบปะกันบ้างเป็นครั้งคราว แพนด้ายักษ์ในป่าธรรมชาติใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหาร, กินอาหารและการพักผ่อนมันไม่จำศีล(hybernation) เหมือนหมีชนิดอื่นๆในป่าเขตอบอุ่น ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแพนด้ายักษ์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง มีการพบปะของตัวเมียและตัวผู้เฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากการศึกษาในปัจจุบันค้นพบบางสิ่งที่แตกต่างออกไปคือพบว่า แพนด้ายักษ์จะอาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ ในอาณาเขตกว้างใหญ่ และบางครั้งจะมีการพบปะกันบ้างนอกฤดูผสมพันธุ์ ยังคงมีการศึกษาอยู่ต่อไปเกี่ยวกับความลับในการดำรงชีวิตของสัตว์ที่ยากจะ เข้าใจชนินี้ การค้นพบใหม่ ๆ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ สำหรับเรื่องอายุขัยมีรายงานว่าแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยงมีอายุประมาณ 35 ปี และพบว่า “ชิงชิง”(Hsing-Hsing) แพนด้ายักษ์ที่อาศัยในสวนสัตว์แห่งชาติตายเมื่อค.ศ. 1999 ขณะมีอายุได้ 28 ปี นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบข้อมูลแน่นอนเกี่ยวกับอายุขัยของแพนด้ายักษ์ที่อาศัย ในป่าธรรมชาติทราบแต่เพียงว่าสั้นกว่าอายุขัยของแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยง แพนด้ายักษ์มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียง 2-3 วันที่ตัวเมียมีความต้องการจะผสมพันธุ์และสามารถตั้งท้องได้ ในช่วงเวลานั้นจะมีการสื่อสารโดยใช้เสียงร้องและกลิ่นเพื่อดึงดูดให้ตัวเมีย และตัวผู้มาพบและผสมพันธุ์กัน แพนด้ายักษ์จะโตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ4-8 ปีตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 95-160 วัน อาจจะตกลูกได้ครั้งละ 2 ตัวแต่โดยปกติจะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต ลูกแพนด้ายักษ์จะอยู่กับแม่ไปจนกระทั่งอายุประมาณ1.5 - 3 ปี แล้วจึงแยกตัวออกไปซึ่งหมายความว่าโอกาสที่แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะสามารถมีลูกได้ก็คือทุก2-3 ปีดังนั้นตลอด
ชีวิตของมันก็อาจประสบความสำเร็จในการตกลูกได้เพียง5-8 ตัว

สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพปัจจุบัน มีประชากรแพนด้ายักษ์หลงเหลือในป่าธรรมชาติประมาณ
1,000 ตัว และมีประชากรในกรงเลี้ยงตามสวนสัตว์และสถานที่เพาะเลี้ยงอื่น ๆ
อีกประมาณ 140 ตัว ซึ่งส่วนมากอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
แพนด้ายักษ์จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะวิกฤติเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง


ที่มา http://www.zoothailand.org/encyclopedia.php?action=detail&gid=1&id=240&page_no=2

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ปรากฏการณ์โลกร้อน (อังกฤษ: Global warming) หมายถึง
การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำ
ในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส [1] ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของ
มนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก[1]
ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของ
การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ
อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อน
ยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อย
ต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา[2][3]
ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง [4] แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ [5][6]
แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) [1] ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก [1]
การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น